คุณอยู่ที่นี่ : หน้าหลัก / Group Care

 

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน


การใช้สิทธิผ่านโรงพยาบาลเครือข่าย ความคุ้มครองที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ มีดังต่อไปนี้

  • การตรวจรักษากรณีผู้ป่วยนอก (OPD)
  • การตรวจรักษากรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน (Emergency Accident)
  • การตรวจรักษาทางทันตกรรม (Dental)
  • การตรวจรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD)
  • การตรวจรักษากรณีผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Case)

วิธีการใช้สิทธิทำได้โดยแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิประกันฯของ “กรุงเทพประกันสุขภาพ” และยื่นบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นๆที่ทางราชการออกให้แสดงด้านที่มีสติ๊กเกอร์ช่วยจำเพื่อให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทราบว่าสามารถตรวจสอบความคุ้มครองได้จากระบบของบริษัทประกันใด

การแจ้งใช้สิทธิสามารถแจ้งได้กับเจ้าหน้าที่ตรวจสิทธิ ซึ่งอาจเป็นเคาท์เตอร์แรกรับ, เคาท์เตอร์เวชระเบียน, แพทย์ผู้รักษา, เคาท์เตอร์ที่ได้รับการตรวจหรือส่วนงานอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละโรงพยาบาล




 
                       

                            ตัวอย่างสติ๊กเกอร์ช่วยจำ                        

                       

                   

การรักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) / การตรวจรักษากรณีผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Case)

ในกรณีมีข้อสงสัยที่ต้องทำการตรวจสอบข้อมูล ท่านอาจถูกร้องขอให้ชำระค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเองก่อน และสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทฯได้โดยส่งเอกสารต้นฉบับที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทั้งหมดมาที่:

ฝ่ายสินไหมทดแทน บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน) 2301/2 ชั้น 6 อาคารทันตกรรม ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) / การตรวจรักษากรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน (Emergency Accident)/การรักษาด้านทันตกรรม (Dental)

 
 
 

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือขณะอยู่ที่โรงพยาบาล กรุณาติดต่อศูนย์บริการ TPA หมายเลข 02-660-1202 ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลเครือข่ายได้ที่เมนู Network Hospital

 

การใช้สิทธิเบิกตรงกับบริษัทฯ


การจ่ายผลประโยชน์
ในกรณีที่ท่านนำส่งเอกสารครบถ้วนและบริษัทฯไม่มีการร้องขอข้อมูลใดๆเพิ่มเติม ในการพิจารณาให้ความคุ้มครอง ค่าสินไหมทดแทนของท่านจะได้รับการดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันทำการ 
ในกรณีมีเหตุอันควรให้บริษัทข้อมูลเพิ่มเติม ระยะในการพิจารณาอาจขยายออกไปอีกตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 90 วันนับจากวันที่บริษัทได้รับหลักฐานครบถ้วนแล้ว
 
การส่งหลักฐานการเรียกร้อง
ท่านสามารถนำเอกสารต้นฉบับที่เกี่ยวกับการรักษาทั้งหมดมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท โดยเอกสารฯที่ต้องใช้มีดังต่อไปนี้

  • กรณีเรียกร้องผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ กรณีสำรองจ่าย, เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนอกเครือข่าย, เบิกค่าคลอดบุตร
    • แบบฟอร์มเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล
      ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เอาประกันพร้อมลงนามเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และข้อมูลจากแพทย์ผู้รักษา
    • กรณีแพทย์ผู้รักษาไม่ได้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล แนบใบรับรองแพทย์ที่ระบุรายละเอียด วันที่เกิดอุบัติเหตุ/วันที่เข้ารับการรักษา อาการสำคัญ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ถ้ามี) การวินิจฉัยโรค และการรักษา
    • ใบเสร็จรับเงินฉบับจริงที่ระบุรายละเอียดค่าใช้จ่าย และใบแจ้งรายละเอียดการรักษาพยาบาล
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีขอข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา)
    • เอกสารอื่นๆ เช่น กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้วยังไม่ได้ส่งเรื่องขอเปลี่ยนแปลง ได้แก่ หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล, สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร, ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร เป็นต้น
หมายเหตุ:
: ผลประโยชน์คลอดบุตร รวบรวมเอกสารส่งเบิกเมื่อเกิดการคลอดบุตรหรือการแท้งแล้วแต่กรณี
: ผู้เอาประกันจะต้องดำเนินการเรียกร้องค่าชดเชยภายใน 90 วัน หลังจากได้รับการรักษาในกรณีคนไข้นอก หรือออกจากโรงพยาบาลใน กรณีคนไข้ใน การส่งเอกสารล่าช้าเกินกว่ากำหนดอาจเป็นเหตุให้เสียสิทธิในการเรียกร้อง หากไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีเหตุอันสมควร
  • กรณีเรียกร้องผลประโยชน์ทุพพลภาพ, สูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ
    • แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร
    • ใบความเห็นแพทย์
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย
    • สำเนาประวัติการรักษาพยาบาลตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน
    • ฟิล์มเอ็กซเรย์ พร้อมรายงานผลการอ่าน (ถ้ามี)
    • กรมธรรม์ประกันภัย/ใบรับรองการเอาประกันภัยกลุ่ม
    • รูปถ่ายปัจจุบันที่บ่งชี้การสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพของผู้เอาประกัน
  • กรณีเรียกร้องผลประโยชน์การเสียชีวิต
    • ใบนำส่งการเรียกร้องสินไหมมรณกรรม Downloadแบบฟอร์ม
    • แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณกรรม Downloadแบบฟอร์ม
    • แบบฟอร์มรายงานแพทย์
    • สำเนาใบมรณบัตร
    • สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
    • สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ หรือสำเนารายงานการผ่าพิสูจน์ศพ
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านประทับ “ตาย” ของผู้เอาประกันภัย
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์ทุกคน
    • กรมธรรม์ประกันภัย/ใบรับรองการเอาประกันภัยกลุ่ม
    • กรณีประกันกลุ่ม ให้นำส่งหนังสือรับรองการเป็นพนักงานโดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับ วันเข้าทำงานตำแหน่งงาน เงินเดือนปัจจุบัน วันพ้นสภาพการเป็นพนักงานพร้อมระบุสาเหตุการพ้นสภาพจากฝ่ายธุรการหรือฝ่ายบุคคลของบริษัทฯ (กรณีข้าราชการไม่ต้องใช้)


เอกสารนำส่งอื่นๆ แล้วแต่กรณี
  1. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล กรณีที่ชื่อไม่ตรงตามที่ระบุในกรมธรรม์
  2. สำเนาทะเบียนสมรสของผู้เอาประกันภัย ผู้ชำระเบี้ย และผู้รับประโยชน์
  3. สำเนาสูติบัตรของผู้รับประโยชน์ กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ
  4. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครองโดยชอบธรรมตามกฎหมาย
  5. สำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ กรณีผู้ปกครองโดยชอบธรรมมิใช่บิดา-มารดา
  6. สำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
  7. สำเนาคำสั่งศาลให้เป็นบุคคลสาปสูญ
  8. ข่าวหนังสือพิมพ์ หรือรูปถ่ายอุบัติเหตุ (ถ้ามี)
  9. หลักฐานการทำงาน เช่น เอกสารการลงเวลาการทำงานเดือนสุดท้าย หลักฐานการรับหรือจ่ายเงินเดือนๆ สุดท้าย 
  10. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
หมายเหตุ
  • เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หากผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตแล้ว ควรแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำการเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์
  • เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา สามารถส่งใบมรณบัตรเพื่อแจ้งการเสียชีวิตได้ โดยไม่ต้องรอรวบรวมเอกสารจนครบ

 

เอกสาร ข้อแนะนำสำหรับหลักฐานที่ต้องนำส่งเพื่อประกอบการพิจารณา
เอกสารของผู้เอาประกัน ต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสาร โดยผู้รับประโยชน์คนใดคนหนึ่ง
เอกสารของผู้ชำระเบี้ย ต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสาร โดยผู้เอาประกันภัย
เอกสารของผู้รับประโยชน์
กรณีผู้รับประโยชน์ / ผู้เอาประกันภัย เป็นผู้เยาว์ 
ต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสาร โดยผู้รับประโยชน์แต่ละคน
ต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยบิดา / มารดา หรือผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล
เอกสารของผู้ปกครองผู้เยาว์ หรือผู้จัดการมรดก ต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสาร โดยเจ้าของเอกสาร
หนังสือรับรองการเป็นพนักงาน / หลักฐานการทำงาน ต้องลงนามและประทับตราโดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท
สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ ต้องรับรองสำนาโดยร้อยเวรเจ้าของคดี
สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ หรือสำเนารายงานการผ่าพิสูจน์ศพ ต้องรับรองสำเนาโดยร้อยเวรเจ้าของคดีหรือหน่วยงานที่ออกรายงาน
สำเนาคำสั่งศาลทุกกรณี ต้องรับรองสำเนา โดยเจ้าหน้าที่ศาล
แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณกรรม ลงนามโดยผู้รับประโยชน์ทุกคน โดยสามารถลงนามในแบบฟอร์มฉบับเดียวกัน หรือแยกกันคนละฉบับก็ได้
กรณีสั่งจ่ายสินไหมมรณกรรมให้ ผู้เยาว์
ลงนามโดยผู้เยาว์และผู้ปกครอง โดยชอบธรรมตามกฏหมาย พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ปกครองผู้เยาว์ หากผู้ปกครองโดยชอบธรรมมิใช่บิดา มารดา ให้แนบสำเนาคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์เพิ่มเติม
กรณีสั่งจ่ายสินไหมมรณกรรมให้ ทายาท
ลงนามโดยผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก พร้อมแนบหลักฐานคำสั่งศาล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้จัดการมรดก
กรณีสั่งจ่ายสินไหมมรณกรรมให้ บริษัทนายจ้าง
ลงนามโดยผู้มีอานาจลงนามของบริษัท